1.จอภาพ (Monitor) ใช้แสดงข้อมูลหรือผลลัพธ์ให้ผู้ใช้เห็นได้ทันที่ มีรูปร่างคล้ายจอภาพของโทรทัศน์ บนจอภาพประกอบด้วยจุดจำนวนมากมาย เรียกจุดเหล่านั้นว่า พิกเซล (Pixel) ถ้ามีพิกเซลจำนวนมากก็จะทำให้ปู้ใช้มองเห็นภาพบนจอได้ชัดเจนมากขึ้น
2.อุปกรณ์ฉายภาพ (Projector) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเรียนการสอนหรือการประชุม เนื่องจากสามารถนำเสนอข้อมูลให้ผู้ชมจำนวนมากเห็นพร้อม ๆกัน
3.อุปกรณ์เสียง (Audio Device) ประกอบด้วยลำโพง (Speaker) และ การ์ดเสียง (Sound Card) เพื่อให้ผู้ใช้สามารถฟังเพลงในขณะทำงาน หรือ ให้เครื่องคอมพิวเตอร์รายงานเปฌนเสียงให้ทราบเมื่อเกิดปัญหาต่าง ๆ
วันอาทิตย์ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2557
อุปกรณ์นำเข้า (Input Device)
1.อุปกรณ์แบบกด (Keyed Device) ได้แก่ แป้นพิมพ์ หรือ Keyboard
แป้นพิมพ์เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลที่นิยมใช้กันโดยทั่วไป ซึ่งจะประกอบด้วยส่วนต่างประกอบหลักๆ คือ แป้นอักขระ ตัวเลข ฟังก์ชั่น ลูกศรและแป้นควบคุม
2.กราฟิกแทปเลท (Graphics Tablet) เป็นเครื่องอ่านพิกัดกราฟิกทำงานลักษณะเดียวกับดิจิไตเซอร์ ต่างกันที่จะมีอักขระและคำสั่งพิเศษสำเร็จรูปอยู่บนแผ่นอ่านพิกัด นิยมใช้สำหรับงานออกแบบสถาปัตยกรรม
3.สมุดบันทึกคอมพิวเตอร์ (Digital Notebook) เป็นอุปกรณ์ที่ประกอบด้วยแผ่นกระดาษโน้ตหรือกระดาษที่ใช้เขียนงานทั่วไป ซึ่งจะต้องวางอยู่บนแผ่นอิเล็กทรอนิกส์ แล้วใช้งานร่วมกับปากกาชนิดพิเศษที่สามารถส่งสัญญาณที่เขียนบนสมุดลงไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ และผู้ใช้สามารถเรียกดูแก้ไข หรือตกแต่งได้ตามต้องการ
สถานที่ท่องเที่ยวที่ชื่นชอบ
ดอยอ่างขาง
ดอยอ่างขาง ตั้งอยู่บนทิวเขาแดนลาว ตำบลแม่งอน อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ มีความสูงจากระดับน้ำทะเล 1,400 เมตร และมียอดดอยสูงถึง 1,928 เมตร เป็นที่ตั้งของสถานีเกษตรหลวงอ่างขาง ซึ่งจัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2512 ตามแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ว่า "ให้เขาช่วยตัวเอง" เปลี่ยนพื้นที่จากไร่ฝิ่นมาเป็นแปลงเกษตรเมื่องหนาวที่สร้างรายได้ดีกว่าก่อนเก่า
สภาพอากาศเย็น อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 19.6 องศาเซลเซียส มีชาวไทยภูเขาเผ่าจีนฮ่อ ไทยใหญ่ มูเซอดำ และปะหล่อง อาศัยอยู๋ประมาณ 600 ครัวเรือนใน 6 หมู่บ้าน
สถานที่น่าสนใจบนดอยมีหลายแห่ง ได้แก่
สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง เป็นสถานีวิจัยแห่งแรกของโครงการหลวง เรื่องกำเนิดของสถานีฯ แห่งนี้เป็นเกร็ดประวัติเล่ากันต่อมาว่าครั้งหนึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชเสด็จทางเฮลิคอปเตอร์ผ่านยอดดอยแห่งนี้และทอดพระเนตรลงมาเห็นหลังคาบ้านคนอยู่กันเป็นหมู่บ้าน จึงมีพระดำรัสสั่งให้เครื่องลงจอด เมื่อเสด็จพระราชดำเนินลงมาทอดพระเนตรเห็นทุ่งดอกฝิ่น และหมู่บ้านตรงนั้นก็คือหมู่บ้านของชาวเขาเผ่ามูเซอซึ่งในสมัยนั้นยังไว้แกละถักเปียยาว แต่งกายสีดำ สะพายดาบ พระองค์มีพระราชดำรัสที่จะแปลงทุ่งฝิ่นให้เป็นแปลงเกษตร สถานีฯ จึงเกิดขึ้นเมื่อพ.ศ. 2512มีโครงการวิจัยผลไม้ ไม้ดอกเมืองหนาว งานสาธิตพืชไร่ พืชน้ำมัน โดยมุ่งที่จะหาผลิตผลที่มีคุณค่าพอที่จะทดแทนการปลูกฝิ่นของชาวเขา และทำการส่งเสริมพัฒนาอาชีพเกษตรกรรมแก่ชาวเขาในบริเวณใกล้เคียง
สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง เป็นสถานีวิจัยแห่งแรกของโครงการหลวง เรื่องกำเนิดของสถานีฯ แห่งนี้เป็นเกร็ดประวัติเล่ากันต่อมาว่าครั้งหนึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชเสด็จทางเฮลิคอปเตอร์ผ่านยอดดอยแห่งนี้และทอดพระเนตรลงมาเห็นหลังคาบ้านคนอยู่กันเป็นหมู่บ้าน จึงมีพระดำรัสสั่งให้เครื่องลงจอด เมื่อเสด็จพระราชดำเนินลงมาทอดพระเนตรเห็นทุ่งดอกฝิ่น และหมู่บ้านตรงนั้นก็คือหมู่บ้านของชาวเขาเผ่ามูเซอซึ่งในสมัยนั้นยังไว้แกละถักเปียยาว แต่งกายสีดำ สะพายดาบ พระองค์มีพระราชดำรัสที่จะแปลงทุ่งฝิ่นให้เป็นแปลงเกษตร สถานีฯ จึงเกิดขึ้นเมื่อพ.ศ. 2512มีโครงการวิจัยผลไม้ ไม้ดอกเมืองหนาว งานสาธิตพืชไร่ พืชน้ำมัน โดยมุ่งที่จะหาผลิตผลที่มีคุณค่าพอที่จะทดแทนการปลูกฝิ่นของชาวเขา และทำการส่งเสริมพัฒนาอาชีพเกษตรกรรมแก่ชาวเขาในบริเวณใกล้เคียง
พรรณไม้ที่ปลูก
- ไม้ผล เช่น บ๊วย ท้อ พลัม แอปเปิล สาลี่ พลับ กีวี องุ่น ราสป์เบอร์รี กาแฟพันธุ์อาราบิกา นัตพันธุ์ต่างๆ
- ไม้ดอก เช่น แกลดิโอลัส เยอบีราพันธุ์ยุโรป สแตติส ยิบโซฟิลลา คาร์เนชั่น อัลสโตรมีเรีย ลิลี ไอริส แดฟโฟดิล
- ผัก เช่น ซูกินี เบบีแครอต กระเทียมต้น หอมญี่ปุ่น ผักกาดฝรั่ง แรดิช เฟนเนล มันฝรั่ง ถั่วแดงหลวง และถั่วพันธุ์อื่นๆ
- ไม้ดอก เช่น แกลดิโอลัส เยอบีราพันธุ์ยุโรป สแตติส ยิบโซฟิลลา คาร์เนชั่น อัลสโตรมีเรีย ลิลี ไอริส แดฟโฟดิล
- ผัก เช่น ซูกินี เบบีแครอต กระเทียมต้น หอมญี่ปุ่น ผักกาดฝรั่ง แรดิช เฟนเนล มันฝรั่ง ถั่วแดงหลวง และถั่วพันธุ์อื่นๆ
ในพื้นที่ดอยอ่างขางยังมีการฟื้นฟูสภาพป่าโดยตรง ด้วยการปลูกป่าด้วยพรรณไม้หลายชนิด ละการทิ้งพื้นที่แนวป่าให้พรณไม้เกิดและเติบโตเองโดยธรรมชาติ มีทั้งพรรณไม้ท้องถิ่น เช่น ไม้ไผ่ ไม้ก่อ แอปเปิลป่า นางพญาเสือโคร่ง หรือซากุระ และพรรณไม้โตเร็วจากไต้หวัน 5 ชนิด คือ กระถินดอย เมเปิลหอม การบูร จันทน์ทอง และเพาโลเนีย
ที่สถานีฯ ยังเป็นแหล่งเที่ยวชมวัฒนธรรมประเพณีพื้นบ้านชาวไทยภูเขาต่างๆ ได้แก่ เผ่ามูเซอดำ ปะหล่อง และจีนฮ่อ รวมทั้งชมความงามตามธรรมชาติของผืนป่า กิจกรรมดูนกซึ่งมีนกทังนกประจำถิ่นและนกหายากต่างถิ่น พร้อมผลิตภัณฑ์จากงานวิจัย งานส่งเสริมเกษตรกรจำหน่ายใต้ตราสินค้า “ดอยคำ” และที่พักทั้งในรูปแบบรีสอร์ท บ้านพักแบบกระท่อมและลานกางเต็นท์พร้อมอาหารและเครื่องดื่มบริการ
สวนบอนไซ อยู่ในบริเวณสถานีฯ เป็นแหล่งรวบรวมพันธุ์ไม้เขตอบอุ่นและเขตหนาวทั้งในและต่างประเทศ ปลูก ดัด แต่ง โดยใช้เทคนิคบอนไซ สวยงามน่าชม และในบริเวณเดียวกันยังมีสวนสมุนไพร ฤดูท่องเที่ยวอยู่ระหว่างเดือนพฤศจิกายน-มกราคม
หมู่บ้านคุ้ม ตั้งอยู่ใกล้กับสถานีฯ เป็นชุมชนเล็ก ๆประกอบด้วยผู้อยู่อาศัยหลายเชื้อชาติอยู่รวมกัน อาทิชาวไทยใหญ่ ชาวพม่าและชาวจีนฮ่อ ซึ่งได้ตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณนี้และเปิดร้านค้าบริการแก่นักท่องเที่ยว
จุดชมวิวกิ่วลม อยู่ทางด้านซ้ายมือก่อนถึงทางแยกซึ่งจะไปหมู่บ้านปะหล่องนอแลทางหนึ่ง และบ้านมูเซอขอบด้งทางหนึ่ง สามารถชมทะเลหมอกและวิวพระอาทิตย์ทั้งขึ้นและตก มองเห็นทิวเขารอบด้านและหากฟ้าเปิดจะมองเห็นสถานีเกษตรหลวงอ่างขางด้วย
หมู่บ้านนอแล ตั้งอยู่บริเวณชายแดนไทย-พม่า คนที่นี่เป็นชาวเขาเผ่าปะหล่องเชื้อสายพม่า แต่เดิมคนกลุ่มนี้อยู่ในพม่าและพึ่งอพยพมา มีภาษาและวัฒนธรรมเป็นของตนเอง นับถือศาสนาพุทธ ทุกวันพระผู้คนที่นี่หยุดอยู่บ้านถือศีล จากหมู่บ้านนี้สามารถมองเห็นทิวทัศน์สวยงามของธรรมชาติบริเวณพรมแดนไทย-พม่า
จุดชมวิวกิ่วลม อยู่ทางด้านซ้ายมือก่อนถึงทางแยกซึ่งจะไปหมู่บ้านปะหล่องนอแลทางหนึ่ง และบ้านมูเซอขอบด้งทางหนึ่ง สามารถชมทะเลหมอกและวิวพระอาทิตย์ทั้งขึ้นและตก มองเห็นทิวเขารอบด้านและหากฟ้าเปิดจะมองเห็นสถานีเกษตรหลวงอ่างขางด้วย
หมู่บ้านนอแล ตั้งอยู่บริเวณชายแดนไทย-พม่า คนที่นี่เป็นชาวเขาเผ่าปะหล่องเชื้อสายพม่า แต่เดิมคนกลุ่มนี้อยู่ในพม่าและพึ่งอพยพมา มีภาษาและวัฒนธรรมเป็นของตนเอง นับถือศาสนาพุทธ ทุกวันพระผู้คนที่นี่หยุดอยู่บ้านถือศีล จากหมู่บ้านนี้สามารถมองเห็นทิวทัศน์สวยงามของธรรมชาติบริเวณพรมแดนไทย-พม่า
หมู่บ้านขอบด้ง เป็นที่ที่ชาวเขาเผ่ามูเซอดำและเผ่ามูเซอแดงอาศัยอยู่ร่วมกัน คนที่นี่นับถือผี มีวัฒนธรรมและความเป็นอยู่อย่างเรียบง่าย หมู่บ้านแห่งนี้ได้รับการส่งเสริมจากโครงการหลวงในด้านการเกษตรและด้านหัตถกรรมพื้นบ้าน (เช่น อาบูแค เป็นกำไลถักด้วยหญ้าไข่เหามีสีสันและลวดลายในแบบของมูเซอ) บริเวณหน้าหมู่บ้านจะมีการจำลองบ้านและวิถีชีวิตของชาวมูเซอ โดยชาวบ้าน ครู และนักเรียนโรงเรียนบ้านขอบด้งช่วยกันสร้างขึ้นมาเพื่อให้ผู้ที่สนใจได้มีโอกาสเรียนรู้และศึกษาวัฒนธรรมของหมู่บ้านโดยที่ไม่เข้าไปรบกวนความเป็นส่วนตัวของเขามากเกินไป และยังมีโครงการมัคคุเทศก์น้อยที่อบรมเด็กนักเรียนโรงเรียนบ้านขอบด้งเพื่อช่วยอธิบายวิถีชีวิตของพวกเขาให้ผู้มาเยือน ทั้งนี้เพื่อเป็นการปลูกจิตสำนึกและสร้างความรักในท้องถิ่นให้เด็ก ๆ ด้วย
หมู่บ้านหลวง ชาวหมู่บ้านหลวงเป็นชาวจีนยูนานที่อพยพมาจากประเทศจีนในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 และประกอบอาชีพด้านเกษตรกรรมเป็นหลัก อาทิ ปลูกผักผลไม้ เช่น พลัม ลูกท้อ และสาลี่
ประวัติส่วนตัว
ชื่อ นางสาวอวัสดา มาเรือน
ชื่อเล่น ออย
วันเกิด 30 ตุลาคม 2537
อายุ 20 ปี กรุ๊ปเลือด บี
เชื้อชาติ ไทย สัญชาติไทย ศาสนา พุทธ
ที่อยู่ 45 หมู่ 10 ต.แม่คะ อ. ฝาง จ.เชียงใหม่ 50110
โรคประจำตัว โรคกระเพาะ
น้ำหนัก 48 กิโลกรัม
ส่วนสูง 166 เซนติเมตร
จบจากโรงเรียนฝางชนูปถัมภ์
รหัสนักศึกษา 56144404
คณะวิทยาการจัดการ
สาขา เศรษฐศาสตร์ (เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ)
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
งานอดิเรก ดูหนัง ฟังเพลง ทำการบ้าน
ชอบเล่นกีฬา แบตมินตัน บาสเกตบอล
ชอบทานอาหาร ส้มตำ ไก่ย่าง
ชอบสี สีน้ำตาล
E-mail : ooy_4024@hotmail.com
คติ หนทางไกลแค่ไหนก็ช่างมัน คนช่างฝันเท่านั้นที่ทำได้
อายุ 20 ปี กรุ๊ปเลือด บี
เชื้อชาติ ไทย สัญชาติไทย ศาสนา พุทธ
ที่อยู่ 45 หมู่ 10 ต.แม่คะ อ. ฝาง จ.เชียงใหม่ 50110
โรคประจำตัว โรคกระเพาะ
น้ำหนัก 48 กิโลกรัม
ส่วนสูง 166 เซนติเมตร
จบจากโรงเรียนฝางชนูปถัมภ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
ชอบเล่นกีฬา แบตมินตัน บาสเกตบอล
ชอบทานอาหาร ส้มตำ ไก่ย่าง
ชอบสี สีน้ำตาล
E-mail : ooy_4024@hotmail.com
คติ หนทางไกลแค่ไหนก็ช่างมัน คนช่างฝันเท่านั้นที่ทำได้
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)